รายละเอียดการสอบวิชาชีพ
Section 1–รายละเอียดโครงการ
โครงการฝึกอบรมธุรกิจเช่าซี้อและลีสซิ่งไทย
Thai Hire-purchase Association
(Standard for Training Center)
เป็นโครงการที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้ในด้านธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่งให้แก่ประชาชนทั่วไป เพื่อเพิ่มความเข้าใจและความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจทางการเงินและธุรกิจให้สินเชื่อเช่าซื้อและลีสซิ่ง อันนำไปสู่ความมีมาตรฐาน ตลอดจนความรู้และทักษะในการประกอบวิชาชีพ โดยยึดหลักความมีจริยธรรมควบคู่กับความเป็นมืออาชีพ ที่จะให้บริการแก่สาธารณชน
สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย (THPA) เป็นผู้กำหนดมาตรฐานความรู้ของบุคลลากรด้านธุรกิจเช่าซี้อและลีสซิ่ง
โดยแบ่งงานเป็น 2 ด้านได้แก่
1. งานดูแลมาตรฐานเกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตรผู้ประกอบวิชาชีพด้านธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่ง
2. งานดูแลมาตรฐานการอนุมัติใบรับรองมาตรฐานการฝึกอบรมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่ง อาทิ ธุรกิจทวงถามหนี้ และโครงการฝึกอบรมเพื่อต่ออายุฯใบรับรองมาตรฐานวิชาชีพ การดูแลการสอบ และการอนุมัติหลักสูตร
หมายหตุ: เบื้องต้น โครงการจะให้การรับรองมาตรฐานทางวิชาชีพ ในการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดตามทวงถามหนี้ก่อน
1.1 วัตถุประสงค์
- เพื่อยกระดับมาตรฐานโครงการฝึกอบรม
- เพื่อเป็นหน่วยงานกลางรับรองโครงการฝึกอบรมหลักสูตรความรู้สำหรับด้านธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่ง และธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่มีมาตรฐานตรวจสอบได้
- เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติ ข้อแนะนำมาตรฐานกลางของการเป็นโครงการฝึกอบรมทางการเงิน วิชาชีพทางด้านธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่ง และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูแลให้เกิดการนำไปปฏิบัติใช้
- เพื่อจัดให้มีมาตรฐานและระบบงานอนุมัติหลักสูตรอบรมเพื่อนับชั่วโมงต่ออายุใบรับรองมาตรฐานทางวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพ
- เพื่อจัดให้มีระบบการตรวจประเมินคุณภาพโครงการฝึกอบรม
1.2 คณะทำงานพิจารณามาตรฐานความรู้และโครงสร้างหลักสูตรธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่ง
คณะทำงานพิจารณามาตรฐานความรู้และโครงสร้างหลักสูตรธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่ง คือ คณะทำงานที่กำหนดนโยบายและพิจารณาหลักสูตรการอบรมและมาตรฐานทางวิชาชีพ และการดำเนินงานของโครงการฝึกอบรมและโครงการอบรมวิชาชีพ ซึ่งคณะกรรมการโครงการฯ ประกอบไปด้วย
ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- ผู้แทนคณะกรรมการสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย
- ผู้จัดการสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย
- ผู้แทนบริษัทสมาชิกสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย
- ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจเช่าซื้อ/ลีสซิ่ง
1.3 มีขอบเขตและหน้าที่รับผิดชอบดังนี้ ทำหน้าที่
- กำหนดมาตรฐานความรู้ โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร และเกณฑ์ที่ผ่านการทดสอบ สำหรับหลักสูตรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านการเงิน เช่าซื้อและลีสซิ่งที่ต้องการมาตรฐาน
- กำหนดแนวทางและกระบวนการในการพัฒนาข้อสอบและการบริหารจัดการคลังข้อสอบ สำหรับหลักสูตรมาตรฐานทางวิชาชีพ รวมถึง กำหนดกรอบอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบ
- กำหนดคุณสมบัติ เกณฑ์ขึ้นทะเบียน ข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในฐานะโครงการทดสอบ รวมถึง พิจารณามาตรฐานการให้บริการ และบทสงโทษในกรณีต่างๆ สำหรับผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดอบรมและทดสอบความรู้
- กำหนดแนวทางการพิจารณาอนุมัติกิจกรรม / หลักสูตรอบรม / การศึกษาเพิ่มเติมเพื่อนับชั่วโมงสำหรับการต่ออายุใบรับรองมาตรฐานทางวิชาชีพ(ให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดตามทวงถามหนี้)รวมถึง กำหนดคุณสมบัติ เกณฑ์การขึ้นทะเบียน และข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในฐานะโครงการฝึกอบรมกลักสูตรเพื่อนับชั่วโมงต่ออายุฯ รวมถึง พิจารณามาตรฐานการให้บริการของโครงการฝึกอบรม
- กำหนดแนวทางในการพิจารณาและจัดการปัญหาข้อร้องเรียนที่มีต่อการดำเนินงานของโครงการทดสอบและโครงการฝึกอบรมหลักสูตรเพื่อนับชั่วโมงต่ออายุฯ
1.4 การบริหารงานที่มีคุณภาพ
- มีความพร้อมด้านบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านฝึกอบรม
- มีระบบงานที่มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพในการให้บริการ
- มีระบบงานในการควบคุม ติดตาม ให้มีการดำเนินงานตามนโยบายและมาตรการที่วางไว้ เช่น การดูแลคุณภาพเนื้อหาหลักสูตร และ การบรรยายของวิทยากร การตรวจสอบเวลาการเข้าอบรมของผู้เข้าอบรม
- มีกระบวนการประเมินผล เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพอบรม ทั้งในแง่ของหลักสูตร วิทยากร เอกสาร การบริหารการฝึกอบรม และการบริการ
1.5 ภารกิจของโครงการฝึกอบรม
- จัดหาหรือพัฒนาหลักสูตรที่มีคุณภาพ และมีขอบเขตเนื้อหาระบุตามเกณฑ์ในแนวปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่ง และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ ธุรกิจติดตามทวงถามหนี้ ฯลฯ ในระดับมาตรฐานของประเทศไทย
Section 2 –การกำกับการดูแลโครงการฝึกอบรม
มาตรฐานการดำเนินงานในฐานะโครงการฝึกอบรม
กระบวนการบริหารการฝึกอบรม สามารถแบ่งการดำเนินการอบรมเป็น 3 ส่วนได้แก่
- การดำเนินงานสำหรับระยะเวลาก่อนการฝึกอบรม
- การดำเนินงานสำหรับช่วงระหว่างการฝึกอบรม
- การดำเนินงานสำหรับช่วงหลังการฝึกอบรม
การดำเนินงานสำหรับระยะเวลาก่อนการอบรม
- กระบวนการพิจารณามาตรฐานหลักสูตรการอบรม
1. ขอบเขตเนื้อหาการจัดการอบรม
การพิจารณาเนื้อหาหลักสูตรการอบรมและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของ ธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่ง และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่
1.1 ความรู้ด้านธุรกิจ เช่น
- ธุรกรรมด้านธุรกิจและแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ
- ความรู้ทางการบัญชี การเงิน และภาษีที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรฐานการบัญชี
- ความรู้เกี่ยวกับการประเมินหรือวิเคราะห์สินเชื่อ
- ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมทักษะหรือยกระดับคุณภาพในการให้บริการด้านธุรกิจเช่าซี้อและลีสซิ่ง
1.2 ความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบ จรรยาบรรณ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น
- กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ
- จรรยาบรรณและมาตรฐานการปฏิบัติงานของธุรกิจ รวมถึงการกำกับการดูแลการภายในและการกำกับดูแลกิจการ
2. การคัดเลือกวิทยากรที่เหมาะสมในการถ่ายทอดเนื้อหาหลักสูตรให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุมติ
2.1 การจัดทำทะเบียนวิทยากร
โครงการจะจัดทำทะเบียนวิทยากรในสังกัด ผ่านระบบของ THPA เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลในระบบ เพื่อเก็บข้อมูล แก้ไขข้อมูล ปรับปรุงให้ทันสมัยและสามารถบันทึกประวัติการบรรยายใน แต่ละหลักสูตรที่โครงการฝึกอบรมและกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องที่จัดขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับ THPA ในการพิจารณายอมรับกิจกรรมการบรรยาย
2.2 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณสมบัติทั่วไปของการเป็นวิทยากร
1. วิทยากรรับอนุญาตในการปฏิบัติหน้าที่ จะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในตลาดเงินและด้านธุรกิจเช่าซี้อและลีสซิ่ง
2. เป็นผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 5 ปีหรือ เป็นอาจารย์ในโครงการอุดมศึกษาที่สอนในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ปี
3. เป็นผู้ที่มีทักษะในการถ่ายทอด มีความสามารถในการสื่อความ อธิบาย ยกตัวอย่าง ให้เป็นที่เข้าใจ หรือมีความสามารถในการนำเสนอ หรือดำเนินการฝึกอบรม ด้วยเทคนิคฝึกอบรม
4. มีความรอบรู้ทางวิชาการแบะ หรือประสบการณ์ในเรื่องที่บรรยาย
5. มีความเหมาะสมในด้านคุณสมบัติส่วนบุคคล ซึ่งจะทำให้วิทยากรท่านนั้น ๆ เป็นที่ยอมรับนับถือของผู้เข้าอบรมในหลักสูตรที่บรรยาย
การดำเนินงานสำหรับระยะเวลาระหว่างการอบรม
การบริหารโครงการฝึกอบรม ให้มีประสิทธิภาพนั้น โดยพิจารณาจาก วิทยากร ที่มีความรู้ความสามารถ และหลักสูตรฝึกอบรมที่เหมาะสมแล้ว ยังจำเป็นต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ จัดการฝึกอบรม ส่วนในการดำเนินการดำเนินการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ผู้จัดโครงการอบรมจะต้องมีบทบาทหลัก ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับ วิทยากรในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เข้าอบรม ทั้งในด้านสถานที่ โสตทัศนูปกรณ์ วัสดุอุปกรณ์ฯ ในขณะเดียวกัน ยังต้องดำเนินงานในฐานะผู้อำนวยการโครงการ ทำหน้าที่ควบคุมให้การฝึกอบรมดำเนินไปตามเกณฑ์การบริหารการอบรมให้มีมาตรฐาน เพื่อให้การอบรมมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลอย่างที่ควรจะเป็น
การดำเนินงานสำหรับระยะเวลาหลังการอบรม
- 1. การประเมินผล
- โครงการจะจัดทำการประเมินผล เนื้อหาหลักสูตร วิทยากร และการบริการ เพื่อนำข้อเสนอแนะจากผู้เข้าอบรมไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร วิทยากร และการให้บริการในอนาคต โดยจะต้องมีการจัดเก็บผลการประเมินให้สามารถตรวจสอบได้
- 2. ขั้นตอนการสรุปผลการอบรม
- สรุปผลการอบรมสำหรับผู้ผ่านการอบรม 80 % ขึ้นไป
- บันทึกสถานการณ์ชำระเงิน (ถ้ามี)
- บันทึกคะแนนแบบทดสอบความรู้หลังการทดสอบ Post Test
- บันทึกวันที่อบรมจริง จำนวนเข้าอบรมและ จำนวนผู้ผ่านการอบรม ลงในระบบ THPA
- 3. การส่งรายชื่อผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรเพื่อนับชั่วโมงเพื่อต่ออายุใบรับรองมาตรฐานทางวิชาชีพ
- โครงการฝึกอบรม ต้องมีระบบงานในการจัดส่งข้อมูลผู้เข้าอบรมให้ถูกต้อง และตามกำหนดเวลา เพื่อจะได้นำข้อมูลไปใช้ในการประมวลผลการนับชั่วโมงต่ออายุใบรับรองมาตรฐาน ได้อย่างถูกต้อง
- โครงการฝึกอบรมต้องรวบรวมรายชื่อผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนับชั่วโมงเพื่อต่ออายุใบรับรองมาตรฐานทุกหลักสูตรภายในเดือนนั้นๆ
- โครงการฝึกอบรมส่งข้อมูลผู้เข้าอบรมพร้อมรหัสหลักสูตรให้ THPA ตามระยะเวลาที่กำหนด
การกำกับการดูแลโครงการฝึกอบรม
เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้รับบริการฝึกอบรมจากโครงการฯและโครงการอบรมที่ได้รับอนุญาตจาก THPA โครงการและโครงการฝึกอบรมที่ได้รับอนุญาตจะต้องยอมรับและปฏิบัติ ตามมาตรฐานของโครงการฝึกอบรมธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่งไทยและสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย เพื่อทำให้ระบบบริหารโครงการฝึกอบรมมีคุณภาพ ตามเกณฑ์ดังนี้
แนวทางการติดตามและตรวจสอบมาตรฐานโครงการฝึกอบรม
- เพื่อให้มั่นใจว่ามีการดำเนินการตามมาตรฐานโดยตรวจสอบ ดังนี้
- การตรวจสอบจากเอกสารหลักฐานหลังการจัดอบรม Post Audit
- เนื้อหาการอบรม ต้องเป็นไปตามเนื้อหาที่ได้รับการอนุมัติจากโครงการตามประกาศหรือเอกสารการอบรมดำเนินการ
- วิทยากรที่บรรยายต้องเป็นวิทยากรในสังกัด ที่lสมาคมเห็นชอบและที่แจ้งไว้ในแบบคำขออนุมัติหลักสูตร
- มีการจัดอบรมจริงตามวัน เวลา ในกำหนดการ โดยตรงสอบได้จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง
- มีการดูแลการลงชื่อของผู้เข้าเมื่อมีผู้เข้าอบรมจริงเท่านั้น
- มีกระบวนการประเมินผล เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการอบรม ทั้งในแง่ของ เนื้อหา หลักสูตร วิทยากร และการบริการ
- กรณีที่ผลการตรวจประเมินสำหรับโครงการอบรมที่ได้รับอนุญาต มีความผิดปกติอย่างร้ายแรง หรือเป็นการทำผิดซ้ำ หรือไม่ปรับปรุงแก้ไขตามที่ได้รับแจ้ง THPA จะนำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการโครงการฯ เพื่อพิจารณามาตรการดำเนินการที่เหมาะสม หรือบทบาทลงโทษต่อโครงการฝึกอบรมที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว ต่อไป
เกณฑ์การบริหารการฝึกอบรมให้เป็นไปตามมาตรฐานงาน
- 1. แนวปฏิบัติการลงทะเบียนและให้การรับรองผู้เข้าอบรม
เกณฑ์การดูแลการลงทะเบียน
1. ดูแลการลงชื่อ เมื่อมีการเข้าอบรมจริงเท่านั้น
2. เวลาเข้า – ออกในใบลงชื่อตามจริง
3. ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าอบรมท่านอื่น ลงชื่อแทนกัน ไม่ว่ากรณีใดๆ
2. เกณฑ์การผ่านการอบรม เพื่อการมอบวุฒิบัตร
- ผู้เข้าอบรมต้องเข้าอบรม 80% ขึ้นไป จึงจะผ่านการอบรมและได้รับวุฒิบัตรตามหลักสูตรที่ระบุให้มีการมอบให้ และหรือสามารถนำไปนับชั่วโมงของหลักสูตรการรับรองมาตรฐานทางวิชาชีพดังกล่าวได้โดย THPA จะออกวุฒิบัตรหรือหนังสือรับรองการผ่านหลักสูตร เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำไปเป็นหลักฐานการเข้าอบรม เพื่อไปแสดงต่อสมาชิกสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย
- ผู้เข้าอบรมท่านใด เข้าอบรมไม่ครบ 80 % กรณีต้องการวุฒิบัตรให้แจ้งเพื่อรับฟัง TAPE เสียงที่เข้าอบรมไห้ครบถ้วน กับทางเจ้าหน้าที่จัดอบรม
- 3. แนวปฏิบัติสำหรับการจัดให้มีแบบทดสอบวัดความรู้หลังการอบรม (Post Test)
กำหนดให้โครงการฝึกอบรม ดำเนินการวัดผลความรู้หลังการอบรม (Post Test) ในทุกหลักสูตรที่ใช้เพื่อต่ออายุใบรับรองมาตรฐานทางวิชาชีพฯ และนำส่งผลให้หน่วยงานต้นสังกัดของผู้เข้าอบรม ทั้งนี้แนวทางการดำเนินงานจะประกาศให้ทราบต่อไป
- 4. เกณฑ์เกี่ยวกับการจัดเก็บเอกสารหลักฐาน Records Requirements
สำหรับเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดเก็บหลักฐานการจัดอบรม ให้เป็นไปตามแนวทาง ดังนี้
- Power Point เอกสารสำหรับใช้บรรยาย จัดเก็บเป็น Soft file สามารถเรียกดูได้สะดวก
- กำหนดการจัดอบรมในแต่ละครั้ง
- ใบเซ็นชื่อ ที่ผู้เข้าอบรมได้ลงชื่อตาม Session / Session ละ 3 ชั่วโมง
- รูปภาพการจัดอบรม
- สรุปผลการประเมินในแต่ละครั้ง
Section 3 –การรับรองมาตรฐานทางวิชาชีพของโครงการฝึกอบรมธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่งไทย
สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย ถือเป็นหน่วยงานกลางรับรองมาตรฐาน และกำหนดให้มีการอนุมัติใบรับรองมาตรฐานการฝึกอบรมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่ง และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ ธุรกิจทวงถามหนี้ โดยการสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนดของข้อสอบทางมาตรฐานวิชาชีพ หรือผ่านการอนุมัติหลักสูตรที่ได้มาตรฐานของโครงการฝึกอบรมฯและสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย รวมถึงแนวทางการต่ออายุโดยอัตโนมัติด้วยการฝึกอบรมเพื่อต่ออายุฯใบรับรองมาตรฐานวิชาชีพ
การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่ผ่านการทดสอบ สำหรับหลักสูตรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านการเงิน เช่าซื้อและลีสซิ่งที่ต้องการมาตรฐาน
- เบื้องต้น โครงการจะให้การรับรองมาตรฐานทางวิชาชีพ ในการให้ความเห็นชอบเป็นผู้ติดตามทวงถามหนี้ก่อน โดยกำหนดให้ผู้สอบต้องสอบผ่านข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพ โดยคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของทุกหมวดย่อย และคะแนนรวมต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของทั้งหมด
- อายุของใบรับรองมาตรฐานวิชาชีพ กำหนดให้มีอายุ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ออก และกำหนดให้มีการต่ออายุโดยอัตโนมัติ โดยผู้ได้รับการรับรอง ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการต่ออายุ ไม่น้อยกว่า ปีละ 6 ชั่วโมง หรือ 18 ชั่วโมงสะสม ในรอบของอายุของใบรับรองมาตรฐานวิชาชีพ โดยโครงการจะทำหน้าที่เก็บข้อมูลของผู้ได้รับใบรับรองมาตรฐานวิชาชีพ แลจัดส่งให้ทางไปรษณีย์เมื่อผู้ได้ใบรับรองชำระค่าธรรมเนียมการรับรอง และการออกบัตรหรือใบรับรองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
- ค่าธรรมเนียมการรับรองมาตรฐานทางวิชาชีพ ประกอบด้วย
- 1. ค่าธรรมเนียมการสอบรับรองมาตรฐานทางวิชาชีพ ครั้งละ 200 บาท
- 2. ค่าออกบัตรหรือใบรับรองมาตรฐานทางวิชาชีพ บัตรหรือใบละ 200 บาท
- 3. ค่าธรรมเนียมการรับรองมาตรฐานทางวิชาชีพ 3 ปี จำนวนเงิน 600 บาท
- ค่าธรรมเนียมในการอบรมประเภทอินเฮ้าส์ ประกอบด้วย
- 1. ค่าธรรมเนียมการอบรมสัมมนา ท่านละ 450 บาท
- 2. ค่าวิทยากร 15,000 บาท
- 3. เอกสารการจัดอบรม และการสอบทั้งหมด ทางสมาคมเป็นผู้ดำเนินการ
- 4. สถานที่ อาหารว่าง และอาหารกลางวัน ผู้รับการอบรมเป็นผู้จัดหา
หมายเหตุ : ในช่วงปัจจุบันที่โครงการเริ่มเปิดให้บริการทดสอบวิชาชีพแก่บุคคลทั่วไป ทางสมาคมยินดีให้สิทธิพิเศษแก่บริษัท ติดตามทวงถามหนี้ จำกัด ส่งบุคลากรเข้าทำการทดสอบมาตรฐาน โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมในการสอบครั้งแรกและค่าออกใบรับรองมาตรฐานทางวิชาชีพ